วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พระสีวลี (มหาสาวก)



พระสีวลี (มหาสาวก)


ภิกษุผู้เป็นเลิศในด้านสักการะ


ประวัติความเป็นมา พระสีวลี เป็นพระราชโอรสของพระนางสุปปวาสา ผู้เป็นธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ ตั้งแต่พระสีวลีได้ปฏิสนธิถือกำเนิดในครรภ์พระมารดา ได้เกิดมีลาภสักการะแก่พระมารดาเป็นอันมาก เนื่องด้วยบุญของพระสีวลี แต่อยู่ในครรภ์พระมารดาถึง ๗ปี ๗เดือน ๗วัน เนื่องด้วยกรรมที่เคยทำมาซึ่งจะกล่าวตอนท้าย(โปรดติดตาม) เมื่อเวลาที่พระนางประสูติ พระนางได้เสวยทุกขเวทนาเป็นอย่างมาก จึงขอให้ พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพรจากพระบรมศาสดา พระบรมศาสดาจึงประทานพรให้แก่พระนางว่า “ขอพระนางสุปปวาสา พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุข ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชโอรสผู้หาโรคมิได้เถิด” ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธานุภาพ ทุกขเวทนาของพระนางก็อันตรธานไป พระนางประสูติพระราชโอรสอย่างง่ายดาย ดุจน้ำไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานพระนามพระราชโอรสของพระนางสุปปวาสาว่า “สีวลีกุมาร” เมื่อพระนางสุปปสาวามีสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว มีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานติดต่อกันเป็นเวลา ๗ วัน จึงบอกความประสงค์แก่พระสวามีให้ทราบเพื่อกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์ มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวสน์ ตลอดทั้ง ๗ วัน ในวันถวายมหาทานนั้น สีวลีกุมาร มีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ ๗ พรรษา ได้ช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่าง ๆ มีการนำธมกรก (ธะมะกะหรก = กระบอกกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่ม และได้ถวายพระพุทธเจ้าและเหล่าพระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่พระสีวลีช่วยงานพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้น พระสารีบุตรได้สังเกตดูพระสีวลีอยู่ตลอดเวลา และเกิดความรู้สึกพอใจพระสีวลีเป็นอย่างมาก เมื่อถึงวันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย พระสารีบุตรจึงเข้าไปสนทนากับพระสีวลีและชักชวนให้บวช ส่วนพระสีวลีเป็นผู้มีจิตใจน้อมไปในทางที่จะบวชอยู่แล้วเมื่อได้ยินดังนั้น ก็ได้ไปกราบทูลขออนุญาตจากพระบิดาและพระมารดา พระบิดาและพระมารดา อนุญาต พระสีวลีจึงได้ตามพระสารีบุตรไปยังอาศรมแล้วจึงบวช


เมื่อพระสีวลีบวชแล้วพระสารีบุตรซึ่งเป็นผู้บวชให้จึงให้กรรมฐานเบื้องต้น คือ ตจปัญจกกรรมฐานทั้ง ๕ ได้แก่ เกสา(ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ (หนัง) ให้พิจารณาของทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็นของไม่งามเป็นของสกปรก ไม่ควรเข้าไปยึดติดหลงใหลในสิ่งเหล่านี้ พระสีวลี ได้ฟังพระกรรมฐานนั้นแล้วนำไปพิจารณาในขณะที่กำลังจับมีดโกนเพื่อโกนผมครั้ง แรกนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน โกนผมครั้งที่ ๒ ท่านได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี โกนลงครั้งที่ ๓ ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และเมื่อโกนผมเสร็จ ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์


(พระสีวลี สร้างจากผงดอกไม้บูชาพระผสมครั่งปั้น ราคา 1800 บาท)

องค์พระผ่านพิธีแล้วทุกองค์ครับ โทรถามได้ที่ 0866710373


พระพุทธองค์และหมู่ภิกษุอาศัยบุญพระสีวลี ในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาได้เสด็จพร้อมพระภิกษุสงฆ์ 500 รูป ไปสู่ป่าตะเคียนเพื่อเยี่ยมพระเรวตะซึ่งเป็นน้องชายพระสารีบุตร ในระหว่างทางมีทางแยกสองทาง
พระอานนท์ได้ทูลแก่พระบรมศาสดาว่า
“ทางแยกทางหนึ่งเดินอ้อมไป60 โยชน์ เป็นหมู่บ้านคนพระภิกษุจะไม่ลำบาก แต่ถ้าเดินลัดไปอีก ทางหนึ่งระยะทาง 30 โยชน์ จะเต็มไปด้วยอมนุษย์เป็นที่ลำบากแก่พระภิกษุสงฆ์”
พระบรมศาสดาได้ตรัสถามพระอานนท์ว่า
“ดูกรอานนท์ พระสีวลีมาด้วยรึเปล่า”
พระอานนท์ทูลตอบว่า
“มาด้วยพระพุทธเจ้าข้า”
พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้นก็จงไปทางลัด ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวลด้วยอาหาร
บิณฑบาต เพราะเทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในป่าระหว่างทาง จะจัดสถานที่พักและอาหารบิณฑบาตไว้ถวายพระสีวลีผู้เป็นที่เคารพนับถือของพวก ตน เราทั้งหลายก็จะได้อาศัยบุญของ พระสีวลี นั้นด้วย”

ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก
ด้วยอำนาจผลบุญของพระสีวลีที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่ชาติก่อน เป็นปัจจัยส่งผลให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยดานาค ครุฑ มนุษย์ นำมาถวายอย่างไม่ขาดตกบกพร่องไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
ด้วยเหตุนี้พระสีวลีจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านลาภสักการะ เป็นหนึ่งในมหาสาวก ซึ่งได้ช่วยแบ่งเบาภาระพระศาสดาและได้ช่วยงานพระศาสนาเป็นอย่างมาก ท่านดำรงชีพอยู่สมควรแก่กาล ก็ดับขันธปรินิพพาน

กรรมของพระสีวลี เหตุที่ต้องอยู่ในท้องแม่ถึง ๗ปี ๗เดือน ๗วัน ก็เพราะ ในอดีตชาติ ท่านได้บังเกิดเป็นกษัตริย์ ได้ยกทับไปตั้งค่ายล้อมเมืองอื่น โดยไม่ให้ประชาชนได้ออกมาจากเมืองถึง ๗ปี๗เดือน๗วันด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผลกรรมส่งผลในชาติที่เกิดเป็นพระสีวลีจึงต้องอยู่ในครรภ์ของพระมารดา ถึง๗ปี ๗เดือน ๗วัน

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

~~~ พระเนื้อชิน ๒๕ ศตวรรษ ~~~



ประวัติ พระฉลอง 25 ศตวรรษ ในปีพุทธศักราช 2500 พระพุทธศาสนา ยุคกาลได้ล่วงพ้นเป็นเวลา “2,500 ปี” รัฐบาลสมัยนั้นนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้จัดงานฉลองทั้งภาครัฐบาลและประชาชนทั่วพระราชอาณาจักรโดยในกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองเป็นงานใหญ่ที่ ท้องสนามหลวง เป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเรียกว่างาน “เฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” ตั้งแต่วันที่ 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ในช่วงเทศกาลวันวิสาขบูชา) ส่วนการเฉลิมฉลองใน ภาคประชาชน จัดให้มีการ สวดมนต์ภาวนา, รักษาศีล, ทำบุญทำทาน ทางด้าน ภาครัฐบาล จัดให้มีการ บูรณะวัดและปูชนียสถานที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาพร้อม การอภัยโทษปลดปล่อยผู้ต้องหา และการ นิรโทษกรรมและล้างมลทิน แก่ผู้กระทำความผิดบางจำพวกและการจัดสถานที่อันเป็นการ อภัยทานแก่สัตว์ เพื่อปลอดจากการถูกทำลายล้างชีวิตโดยได้ทำการเผยแพร่การจัดงานไปยังนานา ประเทศ พร้อมเชิญผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และผู้แทนองค์การทางพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ มาร่วมพิธีฉลองด้วย ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดงานที่นำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่สำเร็จเป็นรูปธรรมในครั้งนั้นได้แก่ 1. การจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑล 2. การวางผังพุทธมณฑล 3. การออกแบบองค์พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 4. รัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล 5. การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลอื่น ๆ 6. การจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ระหว่าง 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 เป็นเวลา 7วัน 7 คืน ที่อ้างอิงมาก็เพื่อนำพาผู้อ่านย้อนถึงมูลเหตุของการจัดสร้าง “พุทธมณฑล” จะได้เข้าใจอย่างชัดเจนเพราะการสร้างพุทธมณฑลมีมากมายหลายแง่มุม ซึ่งวันนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงเฉพาะการสร้างพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” อันเป็นวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองและ กดพระพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ส่วนมูลเหตุในการจัดสร้างพระเครื่องฉลอง “25 พุทธศตวรรษ” สืบเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพุทธมณฑลที่คณะกรรมการได้ประมาณการ ไว้ “25 ล้านบาท” แต่กระทรวงการคลังจัดสรรเงินงบประมาณขั้นต้นไว้ “4,280,000 บาท” เท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอในการก่อสร้าง คณะกรรมการจัดงานจึงลงมติให้มีการจัดสร้าง “พระเครื่องฉลอง 25พุทธศตวรรษ” พร้อม “พระพุทธรูปและวัตถุมงคลอื่น ๆ” เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบในการสร้างพุทธมณฑลและเป็นที่ ระลึกในงาน “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” โดยการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้คณะกรรมการได้กราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และทรงกดพิมพ์ “พระพิมพ์เนื้อดิน” เป็นปฐมฤกษ์โดยหนังสือ “พุทธมณฑลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ได้บันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีหล่อพระพุทธรูปและทรงกดพิมพ์พระเป็นปฐมฤกษ์ ดังนี้ “วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2500 เวลา 16 นาฬิกา 30 นาที พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดสุทัศน์เทพวราราม เสด็จขึ้นบนพระวิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระศรีศากยะมุนี แล้วเสด็จฯไปยังพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายศีลจบแล้วเจริญพระพุทธมนต์ ทรงจุดเทียนมหามงคล โหรบูชาฤกษ์ เวลา 17 นาฬิกา 4 นาที 8 วินาทีถึงเวลา 17 นาฬิกา 17 นาที เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำแบบพุทธลีลา 4 องค์” และทรงพิมพ์พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษชนิด “พระเนื้อดินผสมผงเกสร 30 องค์” เป็นปฐม ฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรและดุริยางค์ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 25 รูป เจริญชัยมงคลคาถา พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณหลั่งน้ำสังข์ เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายอดิเรก จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระสงฆ์ 25 รูปเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว “พระคณาจารย์ 108 รูป” นั่งปรกปลุกเสกสรรพสิ่งของบรรจุพุทธาคมต่อตลอดคืน” จากบันทึกดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” มีความเป็นสิริมงคลที่สำคัญยิ่งอีกรุ่นเพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้น เกล้าฯจาก พระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และกดพิมพ์พระเครื่อง “เนื้อดินผสมผง” (พิมพ์ปางลีลา) เป็นปฐมฤกษ์ อีกทั้งได้ทราบการพิมพ์พระเครื่องและพระพุทธรูปดังกล่าวล้วนจัดสร้างขึ้นที่ วัดสุทัศน์ฯ ดังบันทึกในหนังสือเล่มเดียวกันว่า “คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้สร้างโรงงานให้ผู้รับจ้างพิมพ์พระได้ทำงานอยู่ในบริเวณวัดสุทัศน์ เทพวราราม ด้วยประสงค์จะให้พระพุทธรูปดังกล่าวได้จัดทำอยู่ในปริมณฑลพิธี หรือในเขตพระอารามโดยตลอดและสะดวกต่อการควบคุมดูแล เพราะใช้เวลาสร้างพระเครื่อง 3 เดือนเศษ จึงแล้วเสร็จ และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกเป็นครั้งที่ 2” ดังนั้นวัตถุมงคล “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” จึงนับเป็นวัตถุมงคลมีคุณค่าที่ถึงพร้อมด้วย พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ และ พระมหากษัตราธิคุณ ส่วนรายพระนามและรายนามพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกขออนุญาตไม่ เอ่ยถึง เพราะมีจำนวนมากครับ  สนใจติดต่อ 086-6710373

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

~~~.....พระปิดตายุคเก่า เนื้อดินขุยปูผสมผง .... หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด....~~~


แม้ว่าอัตโนประวัติของพระเกจิอาจารย์นาม "หลวงพ่อหรุ่น" จะไร้หลักฐานข้อมูลอันแน่ชัด เช่นเดียวกับพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าทั้งหลาย

แต่ความน่าสนใจของหลวงพ่อหรุ่น คือฉายานาม "เก้ายอด" ที่ได้รับมาจากชื่อเสียงในด้านการสักยันต์

พลิกแฟ้มข้อมูลของหลวงพ่อหรุ่น มีระบุเพียงว่า เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2390 ที่บ้านตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เป็นบุตรของนายน้อย ใจอาภา และ นางคำ ใจอาภา

อุปสมบท ณ วัดลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

กล่าวว่า ปีที่ท่านอุปสมบทนั้น เป็นปี พ.ศ.2431 มีพระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่ "พระธรรมราชานุวัตร" เป็นพระอุปัชฌาย์

ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์นั้น เป็นที่ถกเถียงกัน บ้างก็ว่าเป็นพระวัดลำลูกกานั้นเอง บ้างก็ว่าเป็นวัดกลางนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้างก็ว่าเป็นพระวัดสามไห แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดลำลูกกามากกว่า

ภายหลังจากอุปสมบทได้หลายพรรษาแล้ว ท่านจึงเริ่มเดินธุดงค์

ก่อนหน้านั้นนอกจากจะได้ศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว ยังได้ร่ำเรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานด้วย

ภายหลังได้ธุดงค์มาปักกลดในบริเวณข้างวัดอัมพวัน ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ชาวบ้านได้เห็นถึงวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด และมีคาถาอาคมแก่กล้าจึงได้นิมนต์ท่านมาพำนักที่วัดอัมพวันตั้งแต่บัดนั้น

กล่าวสำหรับวัดอัมพวัน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ราว พ.ศ.2385 โดยพระยาราชชนะสงคราม (วัน) เป็นผู้สร้างเพื่ออุทิศแก่มารดาของท่านชื่อ "อ่ำ""จึงได้รับการขนานนามวัดว่า "วัดอ่ำวัน" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอัมพวัน" เพื่อให้มีความหมายดีขึ้น

วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2395

หลวงพ่อหรุ่น ในช่วงที่จำพรรษายังวัดอัมพวันแล้วนั้น ชื่อเสียงของท่านโด่งดังในด้านการ "สักยันต์" ยิ่งนัก โดยเฉพาะนักเลง "ก๊กเก้ายอด" ที่ท่านสักยันต์ให้จนได้รับฉายาว่า "หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด"

กล่าวสำหรับด้านวัตถุมงคลของหลวงพ่อหรุ่นนั้น ไม่ว่าจะเป็น

- กระดูกห่านลงจาร ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว

- ตะกรุดโทน ยาวประมาณ 7 นิ้ว

- แหวนเก้ายอด

- เหรียญปั๊มรูปเหมือน

- พระปิดตา

ล้วนมีชื่อเสียง เป็นที่เสาะแสวงหาของนักสะสมพระเครื่อง

นับได้ว่าเป็นพระยอดนิยมอีกอย่างหนึ่ง สำหรับนักสะสมพระเครื่องได้ขวนขวายหามาครอบครอง.

สำหรับ องค์นี้ เป็นพระปิดตายุคเก่า เนื้อดินขุยปูผสมผง สร้างเมื่อราวก่อนพ.ศ.2450(ท่านมรณภาพ2453) พุทธคุณทางเมตตา โชคลาภ โภคทรัพย์เป็นที่ประจักษ์มาช้านา นักเลงเก่าฟากพระนครรู้จักกันดี สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 086-6710373

~~~ พระพิมพ์พุทธโคดม หลวงพ่อขอม ปี2505 ~~~


หลวง พ่อขอมเป็นพระเกจิอาจารย์เรืองนามอีกรูปหนึ่งของจ.สุพรรณบุรี สมัยนั้นมีงานปลุกเสกที่ไหนต้องมีชื่อหลวงพ่อขอมที่นั่น ถ้าหากได้ศึกษาประวัติและปฏิปทาลึกๆของท่านจะทราบดีว่าหลวงพ่อขอมท่าน ปรารถนาพุทธภูมิเช่นกัน วัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีหลายเนื้อหา แต่ที่สร้างในยุคต้น ๆและเป็นที่นิยมก็คือเนื้อดินครับ พระรุ่นนี้หลวงพ่อขอมจัดสร้างปี 2505 ซึ่งเป็นปีที่หลวงพ่อขอมจัดสร้างพระเครื่องครั้งยิ่งใหญ่ เจตนาการสร้างเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา วัตถุมงคลที่ท่านอฐิษฐานจิตปลุกเสกนั้นมีพุทธคุณสูงและโดดเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดกันภัย โชคลาภค้าขาย และเมตตามหานิยมครับ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 086-6710373

~~~.....ตรีกาย ลพ.แดงวัดทุ่งคอก.....~

~~~.....ตรีกาย ลพ.แดงวัดทุ่งคอก.....~~~

หลวงพ่อแดงวัดทุ่งคอก เป็นพระคณาจารย์ที่มีพุทธาคมสูงองค์หนึ่งของจังหวัดสุพรรณ และยังเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดันด้วย พระตรีกาย ( พิมพิ์พระสาม ) องค์นี้เป็นพิมพิ์ใหญ่ครับพระพอสวยมีหน้าตาชัดตามรูป สนใจโทรสอบถามได้ที่ 086-6710373

~~~.....รูปเหมือน หลวงพ่อครูบาจำปา.....~~







รูปเหมือน หลวงพ่อครูบาจำปา สีลวนโต วัดสะอาดชัยศรี(แม่ข้อน) จ.เชียงใหม่ ฐานกว้าง 5 นิ้ว สนใจโทรสอบถามได้ที่ 086-6710373

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

๙๙๙~~~.....คดเขาเก้ง....แบบเก้ากุ่ม หรือ เก้ายอด.....~~~~ ๙๙๙

คด เขาเก้ง เป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งในตระกูลเครื่องรางทนสิทธิ์ของทางเหนือ ซึ่งทางเหนือจะเรียกเก้งว่าฟาน ซึ่งคดเขาเก้งนั้นมักเกิดกับตัวที่เป็นจ่าฝูงแต่ไม่ใช่ทุกฝูงนะครับ อนุภาพดีทางมหาอำนาจ และแคล้วคลาดคงกระพัน ดุจพญากวางที่เป็นใหญ่ครับ แต่ของแบบนี้ หายากยังไม่พอ  ที่จะเกิดคตแบบ เก้ายอดนั้นยากมากๆแทบไม่ต้องหากันละครับ ชอบลองโทรมาสอบถามได้ครับ อาจหายากกว่า พระรอดมหาวันด้วยซ้ำ...........086-6710373